เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [7. สัตตกนิบาต] 1. กุกกุวรรค 6. ทสัณณกชาดก (401)
[36] ทำไมหนอ ท่านเกิดอยู่บนบกจึงจับปลาในน้ำได้
นี่ท่านผู้ร่วมชีวิต ฉันถามแล้วโปรดบอก ท่านได้มาอย่างไร
(สุนัขจิ้งจอกตอบว่า)
[37] เพราะการทะเลาะกัน สัตว์จึงผ่ายผอม ทรัพย์จึงสิ้นไป
พวกนากเสื่อมเพราะการทะเลาะกัน
แม่มายาวี เธอจงกินปลาตะเพียนเถิด
[38] ในหมู่มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน เกิดการทะเลาะในที่ใด
ก็จะพากันไปหาผู้ตั้งอยู่ในธรรมในที่นั้น
ผู้วินิจฉัยคดีนั้นเป็นผู้ตัดสินให้พวกเขา
ในการทะเลาะนั้นก็จะพากันหมดสิ้นทรัพย์ไป
พระคลังหลวงก็จะเพิ่มพูน
ทัพภปุปผชาดกที่ 5 จบ

6. ทสัณณกชาดก (401)
ว่าด้วยดาบแคว้นทสัณณกะ
(พระราชาตรัสถามอายุรบัณฑิตว่า)
[39] ดาบแคว้นทสัณณกะคมกริบดื่มเลือดของคนที่ถูกต้อง
ชายผู้นี้กลืนเข้าไปได้ท่ามกลางชุมชน
เหตุอื่นใดที่ทำได้ยากกว่านั้นมีอยู่หรือ
เราถามแล้ว จงบอกเหตุนั้น
(อายุรบัณฑิตทูลตอบว่า)
[40] ชายผู้นี้กลืนดาบคมกริบที่ดื่มเลือดของคนที่ถูกต้องเข้าไปได้
เพราะความโลภ แต่ผู้ใดพูดว่าจะให้
คำพูดของเขาทำได้ยากกว่าการกลืนดาบนั้น
เหตุอย่างอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย
ขอเดชะพระเจ้ามัททวะผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :261 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [7. สัตตกนิบาต] 1. กุกกุวรรค 7. เสนกชาดก (402)
(พระราชาตรัสถามปุกกุสบัณฑิตว่า)
[41] อายุรบัณฑิตผู้ฉลาดในธรรมได้แก้เนื้อความแห่งปัญหาแล้ว
บัดนี้เราจะถามท่านปุกกุสบัณฑิตบ้าง
เหตุอื่นใดที่ทำได้ยากกว่านั้นมีอยู่หรือ
เราถามแล้ว ท่านจงบอกเหตุนั้น
(ปุกกุสบัณฑิตทูลตอบว่า)
[42] วาจาที่เปล่งออกมาคนอาศัยไม่ได้ ไม่มีผล
แต่ผู้ใดให้แล้วไม่ติดใจ การกระทำของผู้นั้นทำได้ยากกว่านั้น
เหตุอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย ขอเดชะพระเจ้ามัททวะผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้
(พระราชาตรัสถามเสนกบัณฑิตว่า)
[43] ปุกกุสบัณฑิตผู้ฉลาดในธรรมได้แก้เนื้อความแห่งปัญหาแล้ว
บัดนี้เราจะถามท่านเสนกบัณฑิตบ้าง
เหตุอื่นใดที่ทำได้ยากกว่านั้นมีอยู่หรือ
เราถามแล้ว ท่านจงบอกเหตุนั้น
(เสนกบัณฑิตทูลตอบว่า)
[44] ทานจะน้อยหรือมากก็ตาม คนก็ควรจะให้
แต่ว่าผู้ใดเมื่อให้แล้ว ภายหลังไม่เดือดร้อน
การให้ของผู้นั้นทำได้ยากกว่า
เหตุอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย ขอเดชะพระเจ้ามัททวะผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้
(พระราชาตรัสสดุดีพระโพธิสัตว์ว่า)
[45] ตามที่เสนกบัณฑิตกล่าวมาย่อมครอบคลุมปัญหาทุกข้อ
อายุรบัณฑิตและปุกกุสบัณฑิตได้กล่าวแก้แล้ว
ทสัณณกชาดกที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 27 หน้า :262 }